การประเมินผลการพัฒนางาน
ตามข้อตกลง
Performance Agreement : PA
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
โรงเรียนปัญญาวรคุณ
นางสาวทรายแก้ว จันทร์แจ่มฟ้า
Website สำหรับนำเสนอผลงาน ว.PA นางสาวทรายแก้ว จันทร์แจ่มฟ้า ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ กลุ่มสาระการเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (แนะแนว)
ประวัติผู้ประเมิน
ชื่อ-สกุล นางสาวทรายแก้ว จันทร์แจ่มฟ้า
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ (11 ม.ค.65)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (แนะแนว)
สถานศึกษา โรงเรียนปัญญาวรคุณ บางแค กทม.
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
ปฏิบัติการสอนวิชาหลัก แนะแนว ม.3 แนะแนว ม.4
ครูที่ปรึกษานักเรียน ชั้นม.3/3
รับเงินเดือนในอันดับ คศ.2
ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน
Website สำหรับนำเสนอผลงาน ว.PA นางสาวทรายแก้ว จันทร์แจ่มฟ้า ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ กลุ่มสาระการเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (แนะแนว)
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงานภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด ดังนี้
2/2564
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน (18 คาบ) รวมจำนวน 16 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์ ดังนี้
รายวิชาหน้าที่พลเมือง ม.3 |
ส23236 |
55 นาที/สัปดาห์ |
รายวิชากิจกรรมแนะแนว ม.3 |
ก23905 |
8 ชั่วโมง 15 นาที/สัปดาห์ |
รายวิชากิจกรรมแนะแนว ม.4 |
ก31905 |
4 ชั่วโมง 35 นาที/สัปดาห์ |
รายวิชาลูกเสือ เนตรนารี ม.3 |
ก23906 |
55 นาที/สัปดาห์ |
รายวิชากิจกรรมชุมนุม ม.3 |
ก23907 |
55 นาที/สัปดาห์ |
รายวิชากิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ ม.3 |
ก23908 |
55 นาที/สัปดาห์ |
อ้างอิงตามประกาศกำหนดชั่วโมงภาระงานโรงเรียนปัญญาวรคุณ ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2564
2/2564
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงานภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด ดังนี้
2/2564
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 ชั่วโมง 50 นาที/สัปดาห์
จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ |
บันทึกหลังสอน |
จัดทำแผนวัดและประเมินผล |
จัดทำวิเคราะห์ผู้เรียน |
จำทำรายงานประเมินตนเอง SAR |
จัดทำวิจัยในชั้นเรียน |
จัดทำสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ |
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC |
5 ชั่วโมง/สัปดาห์
1 ชั่วโมง 50 นาที/สัปดาห์ (PLC)
อ้างอิงตามประกาศกำหนดชั่วโมงภาระงานโรงเรียนปัญญาวรคุณ ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2564
2/2564
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงานภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด ดังนี้
2/2564
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 18 ชั่วโมงสัปดาห์
หัวหน้างานแนะแนว |
5 ชั่วโมง/สัปดาห์ |
ครูที่ปรึกษา งานระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน เยี่ยมบ้าน โฮมรูม |
2 ชั่วโมง/สัปดาห์ |
หัวหน้าการศึกษาและงานส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชนและสถาบันอื่น |
2 ชั่วโมง/สัปดาห์ |
เวรประจำวัน |
1 ชั่วโมง/สัปดาห์ |
ตรวจการบ้านผู้เรียนและชิ้นงานผู้เรียน |
2 ชั่วโมง/สัปดาห์ |
ผู้รับผิดชอบโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปี |
6 ชั่วโมง/ปี |
อ้างอิงตามประกาศกำหนดชั่วโมงภาระงานโรงเรียนปัญญาวรคุณ ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2564
2/2564
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงานภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด ดังนี้
2/2564
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 10 ชั่วโมง 10 นาที/สัปดาห์
บริการให้คำปรึกษา |
10 ชั่วโมง 10 นาที/สัปดาห์ |
อ้างอิงตามประกาศกำหนดชั่วโมงภาระงานโรงเรียนปัญญาวรคุณ ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2564
2/2564
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงานภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด ดังนี้
1/2565
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน (18 คาบ) รวมจำนวน 16 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์ ดังนี้
รายวิชาหน้าที่พลเมือง ม.3 |
ส23235 |
55 นาที/สัปดาห์ |
รายวิชากิจกรรมแนะแนว ม.3 |
ก23901 |
8 ชั่วโมง 15 นาที/สัปดาห์ |
รายวิชากิจกรรมแนะแนว ม.4 |
ก31901 |
4 ชั่วโมง 35 นาที/สัปดาห์ |
รายวิชาลูกเสือ เนตรนารี ม.1 |
ก21902 |
55 นาที/สัปดาห์ |
รายวิชากิจกรรมชุมนุม ม.3 |
ก23903 |
55 นาที/สัปดาห์ |
รายวิชากิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ ม.3 |
ก23907 |
55 นาที/สัปดาห์ |
อ้างอิงตามประกาศกำหนดชั่วโมงภาระงานโรงเรียนปัญญาวรคุณ ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2564
1/2565
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1/2565
1/2565
ภาระงานอื่นตามโครงสร้างบริหารงาน 4 ฝ่าย
ประเด็นท้าทาย
การประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญาและหลักจิตวิทยา
เชิงบวกในการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการค้นพบ
ความสนใจด้านการศึกษาต่อของนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้
จากข้อมูลการทำแบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับความคาดหวังและเป้าหมายทางการศึกษาในอนาคต ที่สำรวจในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 362 คน ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ผู้ตอบแบบสอบถาม 59% ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการไม่สามารถระบุความสนใจของตนเองด้านการศึกษาต่อได้อย่างชัดเจน ราว 10% ยังไม่แน่ใจ ในขณะที่มีเพียง 30% เท่านั้นที่มั่นใจว่ามีเป้าหมายชัดเจน
ผลลัพธ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนไม่น้อยที่คิดว่าตนไม่พร้อมเนื่องจากไม่รู้ความสนใจของตนเอง ส่งผลมายังกระบวนการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายอาชีพ หรือ การเลือกประกอบอาชีพ
แนวคิดเรื่องพหุปัญญาเป็นแนวคิดที่มุ่งอธิบายวิธีการที่มนุษย์จะใช้ศักยภาพแสดงออกซึ่งผลงาน หรือการทำงานด้วยปัญญาด้านต่าง ๆ อันจะช่วยให้ผู้เรียนเห็นช่องทางในการตรวจสอบความสนใจด้านการศึกษาต่อที่เหมาะสมกับปัญญาความสามารถด้านที่ตนมี ซึ่งในกระบวนการส่งเสริมการแนะแนว การให้คำปรึกษาด้านอาชีพสามารถนำทฤษฎีพหุปัญญาไปใช้ประโยชน์ โดยการสนับสนุนให้ผู้เรียนสำรวจตรวจสอบโลกของงานอาชีพควบคู่ไปกับพหุปัญญาด้านที่ตนเองพัฒนาได้ดี โดยใช้กิจกรรมและวิธีการสอดแทรกบูรณาการเข้าสู่กระบวนการใช้หลักสูตรอย่างเป็นระบบ
วิธีการดำเนินให้บรรลุผล
ดำเนินการประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญาและหลักจิตวิทยาเชิงบวกในการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการค้นพบความสนใจด้านการศึกษาต่อของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แนวทางการพัฒนาด้วยทฤษฎีระบบ IPO มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
ขั้นเตรียมการ Input
1. ผู้สอนศึกษาแนวคิดทฤษฎีการจัดการศึกษา โดยประยุกต์การใช้ทฤษฎีพหุปัญญาและหลักจิตวิทยาเชิงบวก มาสังเคราะห์องค์ประกอบเพื่อเป็นกรอบในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้
2. ตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหาของแผนการจัดการเรียนรู้โดยให้ครูที่มีวิทยฐานะระดับครูชำนาญการ หรือ ครูที่สำเร็จการศึกษาด้านจิตวิทยาการแนะแนว การแนะแนว จิตวิทยา เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 ท่าน
3. นำข้อมูลการตรวจสอบความถูกต้องมาหาค่าเฉลี่ยความเหมาะสม
4. นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงข้อมูล เสนอต่อรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ
5. เสนอแผนการจัดการเรียนรู้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียน
วิธีการดำเนินให้บรรลุผล
ขั้นดำเนินการ Process
1. นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ โดยกำหนดวันและเวลา ระยะเวลา สถานที่ที่ใช้แผน
2. ผู้สอนดำเนินการประเมินระดับการค้นพบตนเองด้านการเรียน (ก่อนเรียน) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากนั้นบันทึกข้อมูลในแต่ละห้องเรียนใน Google Sheet
3. ในระหว่างที่ผู้สอนดำเนินการสอนให้ผู้เรียนร่วมสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ได้แก่
รูปแบบกิจกรรมที่เรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์การเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้จนได้รูปแบบที่เหมาะสม
4.ผู้สอนดำเนินการประเมินระดับการค้นพบตนเองด้านการเรียน (หลังเรียน) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูล
5. ผู้สอนตรวจสอบความถูกต้องของผลข้อมูลที่ได้รับ โดยสังเกต สอบถามผู้เรียนเพื่อ
สังเคราะห์ผลการจัดการเรียนรู้
วิธีการดำเนินให้บรรลุผล
ขั้นผลผลิต Output
1. ผู้เรียนมีผลประเมินระดับการค้นพบตนเองด้านการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 70 หลังจากการเข้าร่วมกิจกรรม